Wednesday, February 3, 2016

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

บัตรประจำตัวประชาชน กฎหมายกำหนดว่า ผู้ที่จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
          ๑) เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
          ๒) มีอายุ ๑๕ ปี บริบูรณ์ขึ้นไป จนถึงอายุ ๗๐ ปี บริบูรณ์
          ๓) มีภูมิลำเนาหรือชื่อในทะเบียนบ้านในท้องที่ที่ไปยื่นคำร้องขอมีบัตร
๒. กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา 
          ตามพระราชบัญญัติการ ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดว่า
          ๑) บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
          ๒) บุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้ หรือร่างกายพิการทุพพลภาพ หรือบุคคลไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือผู้ด้อยโอกาส จะมีสิทธิและมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือทางการศึกษาตามกฎหมาย
     ๓. กฎหมายทะเบียนราษฎร์
          ๑) การแจ้งเกิด เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนเกิดภายใน ๑๕ วัน นับแต่วันเกิด เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิดไว้แล้วก็จะออำ ใบแจ้งการเกิด หรือสูติบัตร ให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน
          ๒) การแจ้งตาย เจ้าบ้านจะต้องแจ้งแก่นายทะเบียนท้องถิ่นภายใน ๒๔ ชั่วโมง หรือ ๑ วัน นับแต่เวลาต

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 19 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (เขียนว่า ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) กำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพอ่านเพิ่มเติม

ระบอบการเมืองการปกครอง

ระบอบการเมืองการปกครอง
ลักษณะการเมืองการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย
คือ ระบอบการปกครองตนเองของประชาชน โดยผ่านการเลือกสมาชิกผู้แทนราษฎรไปบริหารและดูแลเรื่องกฎหมาย เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่และโดยการตรวจสอบควบคุมดูแลของประชาชนโดยตรงหรือการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน เช่น การยื่นเสนอหรือแก้ไขกฎหมาย การยื่นถอดถอนนักการเมืองที่ประพฤติมิชอบ การแสดงความคิดในการทำประชาพิจารณ์ การออกเสียงในการทำประชามติ
          ระบอบประชาธิปไตย ระบอบนี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่การแข่งขันอย่างเสรีระหว่างกลุ่มหรือพรรคการเมืองต่างๆ เพียงเพื่อให้ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนส่วนมากในประเทศให้เป็นรัฐบาล ทำหน้าที่บริหารกิจการต่างๆ ของประเทศตามนโยบายที่กลุ่มหรือพรรคนั้นได้วางไว้ล่วงหน้า ลักษณะเด่นดังกล่าวนี้จะดำรงอยู่ได้ตลอดไปถ้ากลุ่มหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ ยึดหลักการประชาธิปไตยเป็นหลักในการต่อสู้แข่งขันทางการเมืองการปกครอง
หลักการของระบอบประชาธิปไตย
          1. อำนาจอธิปไตย หรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรือบางทีก็เรียกกันว่า อำนาจของรัฐ (state power) เป็นอำนาจที่มาจากปวงชน และผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
          2. ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจปกครองให้แก่ประชาช

สิทธิมนุษยชน

     สิทธิมนุษยชน (Human Right)  หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
                1.  ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้ การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นอ่านเพิ่มเติม

การเป็นพลเมืองดีของชาติและสังคมโลก

 การเป็นพลเมืองดีของชาติและสังคมโลก

สาระการเรียนรู้
1.การเคารพกฎหมายและกติกาสังคม
2.การเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและบุคลอื่น
3.การมีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.การมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก
5.การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง
6.การมีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และสิ่งแวดล้อม
7.การมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
แนวคิดหลัก  คุณลักษณะพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลกที่สำคัญคือ การเคารพกฎหมายและกติกาสังคม การเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต หากประเทศชาติและสังคมโลกของเรา มีพลเมืองที่ดีมีคุณลักษณะเช่นนี้ ก็จะก่อให้เกิดความสงบสุข
·       การเคารพกฎหมายและกติกาสังคม
        ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้นิยามความหมายของกฎหมายไว้ว่า กฎหมายคือ กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้นหรือเกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามหรือหรือเพื่อกำหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
      กฎหมายเป็นข้อบังคับที่รัฐหนึ่งๆ ตราขึ้นมาเพื่อใช้กำอ่านเพิ่มเติม

วัฒนธรรมและประเพณีไทย

วัฒนธรรมและประเพณีไทย

การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นสังคมขึ้นมาย่อมต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุ่มมีระเบียบแบบแผนที่ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มให้อยู่ในขอบเขตที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข สิ่งที่เป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของกลุ่มคนนี้เราเรียกว่า "วัฒนธรรม" ดังนั้น วัฒนธรรมจึงเปรียบเสมือนอาภรณ์ห่อหุ้มร่างกายตกแต่งคนให้น่าดูชม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่กับคนเสมอไป 
"วัฒนธรรมมีความหมายครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ใช้ในการปฏิบัติ การจัดระเบียบตลอดจนระบบความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการควบคุมและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ"
 "วัฒนธรรมคือความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ หรือลักษณะประจำชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในอ่านเพิ่มเติม

สังคมมนุษย์

สังคมมนุษย์

ประเภทของสัตว์ทางสังคมวิทยา แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
  • สัตว์สังคม เป็นสัตว์ที่อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือพึ่งพาอาศัยกันและกัน เช่น ผึ้ง แตน ต่อ ช้าง เป็นต้น
  • สัตว์โลก เป็นสัตว์ที่ดำรงชีวิตอยู่ตามลำพังได้โดยไม่ต้องอยู่รวมกันเป็นกุล่มก็ได้ เช่น จระเข้ แมว สุนัข แรด เป็นต้น
มนุษย์จัดเป็นสัตว์สังคมจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีลักษณะพิเศษเหนือกว่าสัตว์อื่น ๆ เพราะมีลักษณะ ดังนี้ 
1. อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม
2. มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
3. มีความสัมพันธ์กันทางสังคม
4. มีการจัดระเบียบทางสังคม

ลักษณะพื้นฐานทางสังคม 
สังคมมนุษย์หรือสังคมสัตว์จะมีลักษณะพื้นฐานร่วมกัน คือ

  1. ระดับความสัมพันธ์ ต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่มาอยู่ร่วมกันสูงกว่าการมารวมเป็นกลุ่ม เฉย ๆ
  2. หน่วยที่มารวมตัวกันต้องเป็นอิสระแยกอยู่ต่างหากจากกัน
ลักษณะพิเศษของมนุษย์ที่แตกต่างจากสัตว์อื่น
  1. มีมันสมองขนาดใหญ่สามารถใช้สมอ่านเพิ่มเติม